ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเริ่มต้นใช้เกณฑ์ Auto Pause ที่เป็นมาตรการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราวรายตัวแบบอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการจับคู่การซื้อขายที่อาจผิดปกติอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมโดยรวม
ในบทความนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจกับเงื่อนไขของมาตรการ Auto Pause ว่าทำงานอย่างไร อะไรคือเงื่อนไขการทำงาน และอะไรเป็นข้อยกเว้นของ Auto Pause
Auto Pause คืออะไร?
Auto Pause คือ มาตรการห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์ชั่วคราวที่จะทำงานแบบอัตโนมัติเมื่อจำนวนรวมของด้านคำสั่งซื้อหรือด้านคำสั่งขายของหลักทรัพย์ดังกล่าวในทุกระดับราคามากกว่า 15% ของจำนวนหลักทรัพย์จดทะเบียน
เมื่อระบบพบว่าจำนวนรวมของด้านคำสั่งซื้อหรือด้านคำสั่งขายของหลักทรัพย์ในทุกระดับราคามากกว่า 15% ของจำนวนหลักทรัพย์จดทะเบียน หลักทรัพย์นั้นจะถูกหยุดซื้อขายโดยถูกขึ้นเครื่องหมาย P หรือ Pause เป็นระยะเวลา 40 นาที และ Pre-Open 20 นาที ก่อนกลับเข้าสู่การจับคู่ซื้อขายตามปกติ
โดยเป้าหมายของมาตรการ Auto Pause ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าว คือเพื่อช่วยให้บริษัทสมาชิกและนักลงทุนมีเวลาตรวจสอบและจัดการคำสั่งซื้อขายของตนหากพบว่ามีความผิดปกติ ซึ่งนักลงทุนจะสามารถแก้ไข หรือยกเลิกคำสั่งซื้อขายได้ในระหว่างช่วงเวลา Auto Pause ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม หากหลักทรัพย์ดังกล่าวได้เกิดการ Auto Pause และขึ้นเครื่องหมาย P แล้วในวันดังกล่าว
เงื่อนไขการขึ้น Auto Pause
Auto Pause จะเกิดขึ้นเมื่อระบบพบว่าจำนวนรวมของด้านคำสั่งซื้อหรือด้านคำสั่งขายของหลักทรัพย์ใด (เฉพาะในส่วน Automatic Order Matching : AOM) ในทุกระดับราคามากกว่า 15% ของจำนวนหลักทรัพย์จดทะเบียน
ตัวอย่างเช่น หุ้นของบริษัท fe มีจำนวนหลักทรัพย์จดทะเบียน 1,000,000 หุ้น ดังนั้นจะ Auto Pause เมื่อ > 15% เท่ากับ 15,000 หุ้น

เมื่อหลักทรัพย์เกิดการ Auto Pause ตลาดหลักทรัพย์อาจห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าว (รวมถึง Odd lot และ Foreign) และหลักทรัพย์ที่ใช้หลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) เป็นเวลาไม่เกิน 60 นาที โดยจะขึ้นเครื่องหมาย Pause (P) 40 นาที และเข้าสู่ Pre-Open 20 นาที ก่อนกลับเข้าสู่การจับคู่ซื้อขายตามปกติ
แต่ถ้าหากว่าการห้ามซื้อขายที่เป็นผลจาก Auto Pause ทำให้เหลือเวลาทำการซื้อขายไม่เกิน 60 นาที การหยุดซื้อขายจากมาตรการดังกล่าวอาจหยุดตามเวลาที่เหลือใน Session นั้น โดยไม่มี Pre-Open Session
ในระหว่างที่ขึ้นเครื่องหมาย P จากการ Auto Pause นี้นักลงทุนจะสามารถแก้ไขหรือยกเลิกคำสั่งซื้อขายได้
ทั้งนี้ 1 หลักทรัพย์สามารถเกิดการ Auto Pause ได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง
หลักทรัพย์ที่สามารถขึ้น Auto Pause ได้
ปัจจุบันหลักทรัพย์ที่สามารถขึ้น Auto Pause จะประกอบด้วยหลักทรัพย์ 4 ประเภท ได้แก่
- หุ้นสามัญ (Common Stock)
- หน่วยทรัสต์ (REIT)
- หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund)
- หน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานหรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Infrastructure Fund)
นอกจากนี้ เมื่อหลักทรัพย์เหล่านี้ถูก Auto Pause ขึ้นเครื่องหมาย P จะมีผลให้หลักทรัพย์อื่นที่ใช้หลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินทรัพย์อ้างอิง อย่างเช่น Warrant, DW, Single Stock Futures เป็นต้น ถูกหยุดการซื้อขายชั่วคราวไปด้วยเช่นกัน
กรณียกเว้นของการ Auto Pause
ตลาดหลักทรัพย์อาจยกเว้นไม่ใช้มาตรการ Auto Pause กับหลักทรัพย์ที่มีเหตุให้ปริมาณการซื้อขายสูงกว่าปกติในกรณีที่ไม่ขัดต่อสภาพปกติของตลาด ซึ่งข้อยกเว้นจะประกอบไปด้วยกรณีต่อไปนี้
- เมื่อเริ่มซื้อขายหลักทรัพย์นั้นในวันแรกที่มีการซื้อขาย (New Listing)
- เป็นคำสั่งซื้อขายประเภท Trade Report
- เมื่อมีเหตุอื่นใดที่อาจทำให้มีปริมาณการซื้อขายสูงกว่าปกติ โดยเหตุดังกล่าวไม่ขัดต่อสภาพปกติของตลาด เช่น พ้นเหตุเพิกถอน, มีการเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์หลังหุ้นถูก SP เป็นเวลานาน และก่อนหุ้นถูกเพิกถอน
และกรณีอื่น ๆ ตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดเป็นรายกรณี