Fed ลดดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ของปี อีก 25 BPS ในการประชุม FOMC ครั้งที่ 8 ประจำปี 2567

Published

Modified

Fed ลดดอกเบี้ย 25 Basis Point เหลือกรอบเป้าหมาย 4.25% ถึง 4.5% นการประชุม FOMC ครั้งที่ 7 ของปี 2567 Fed ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 BPS ใ

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ลดดอกเบี้ยลงอีก 25 Basis Points ส่งผลให้ Federal Funds Rate หรืออัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันลดลงมาเหลือที่กรอบเป้าหมาย 4.25% – 4.5% โดยคณะกรรมการ FOMC มีมติ 11 ต่อ 1 เสียงให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 25 Basis Points ในการประชุม FOMC ครั้งที่ 8 ของปี 2567

เหตุผลหลักในการลดดอกเบี้ยของ Fed ครั้งที่ 3 ของปีนี้ยังคงมาจากการที่ตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจยังคงแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงขยายตัวในอัตราที่มั่นคงมาตั้งแต่ช่วงต้นปี สภาพตลาดแรงงานโดยทั่วไปผ่อนคลายลง และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นแต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ เป็นผลให้อัตราเงินเฟ้อของ Fed มีทิศทางไปสู่เป้าหมาย 2% แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงสูงกว่าที่คาดหวัง คณะกรรมการ FOMC จึงตัดสินใจลดกรอบเป้าหมาย Federal Funds Rate ลง 25 Basis Points เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการจ้างงานสูงสุดและเงินเฟ้อ 2% ซึ่งช่วยให้ดอกเบี้ยเข้าสู่สภาวะที่เป็นกลางมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต

นอกจากนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยของ Federal Reserve ในครั้งนอกจากจะเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ของปี 2567 ยังเป็นการลดดอกเบี้ยที่เป็นไปตามการส่งสัญญาณของ Fed ในแถลงการประชุม FOMC ครั้งที่ 6 ที่เป็นการลดดอกเบี้ยครั้งแรกของ Fed ในรอบ 4 ปี เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการลดดอกเบี้ยลงมาครบ 1% จากจุดสูงสุดของดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ

โดยจากการประชุม FOMC ครั้งที่ 6 ในครั้งนั้นคณะกรรมการโดยเฉลี่ยคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ย Fed Funds Rate ในระดับที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 4.4% ในสิ้นปี 2567 (กรอบเป้าหมายดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.25% ถึง 4.5%) และ 3.4% ภายในสิ้นปี 2568 (กรอบเป้าหมาย 3.25% ถึง 3.5%) หากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนแปลงไปตามที่คาดการณ์ไว้

ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากการประชุม FOMC ธันวาคม 2567

เศรษฐกิจโดยรวมมีความแข็งแกร่งและเป็นไปในทิศทางเดียวกับเป้าหมาย Dual Mandate ของ Fed ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา โดยตลาดแรงงานได้ชะลอตัวลงจากภาวะที่ร้อนแรงเกินไปในอดีตและยังคงแข็งแกร่ง อัตราเงินเฟ้อได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้เป้าหมายระยะยาวที่ 2% มากขึ้น และกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวในอัตราที่มั่นคง

GDP เพิ่มขึ้นใน 2.8% ในไตรมาสที่ 3 (annual rate) ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการเติบโตในไตรมาสที่ 2 โดยการเติบโตของการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงแข็งแกร่ง และการลงทุนในอุปกรณ์และสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้เองก็แข็งแกร่งขึ้นเช่นกัน แต่กิจกรรมใน Housing Sector อยู่ในภาวะอ่อนแอ

  • จากคาดการณ์เศรษฐกิจของ Fed คณะกรรมการส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าการเติบโตของ GDP จะยังคงแข็งแกร่ง โดยมีค่ามัธยฐาน (Median) อยู่ที่ 2%

ตลาดแรงงานยังอยู่ในสภาวะที่แข็งแกร่ง ไม่ตึงตัวเท่ากับปี 2562 แม้ว่าการจ้างงานชะลอตัวลงจากช่วงต้นปี โดยการจ้างงานเฉลี่ยอยู่ที่ 173,000 คน/เดือนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา และอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) สูงกว่าเมื่อปีที่แล้ว แต่อัตราการว่างงานของเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาอยู่ที่ 4.2% ซึ่งถือว่ายังคงอยู่ในระดับต่ำ ตลาดแรงงานจึงไม่ใช่แหล่งที่มาของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สำคัญ

  • ค่ามัธยฐาน (Median) ของคาดการณ์อัตราการว่างงานอยู่ที่ 4.2% ณ สิ้นปีนี้ และ 4.3% ในปีต่อ ๆ ไป

อัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ยังคงสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่ 2% เมื่ออ้างอิงจากดัชนีราคาผู้บริโภคและข้อมูลอื่น ๆ บ่งชี้ว่า Core PCE Price เพิ่มขึ้น 2.5% ในช่วง 12 เดือนที่สิ้นสุดในเดือนพฤศจิกายน และถ้าหากไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงานที่มีความผันผวนสูง Core PCE Price จะเพิ่มขึ้น 2.8%

  • ค่ามัธยฐาน (Median) ของคาดการณ์เงินเฟ้อ Core PCE Price อยู่ที่ 2.4% ในปีนี้ และ 2.5% ในปีหน้า ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยก่อนที่ค่ามัธยฐานของการคาดการณ์ของคณะกรรมการจะลดลงเหลือ 2% ตามเป้าหมายต่อไป

แถลงการณ์การประชุม FOMC ครั้งที่ 8 ของปี 2567

ตัวบ่งชี้ล่าสุดบ่งชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงขยายตัวในอัตราที่มั่นคงตั้งแต่ช่วงต้นปี สภาพตลาดแรงงานโดยทั่วไปผ่อนคลายลง และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นแต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้อได้ก้าวหน้าไปสู่เป้าหมาย 2% ของคณะกรรมการ แต่ยังคงสูงอยู่บ้าง

คณะกรรมการพยายามที่จะบรรลุอัตราการจ้างงานสูงสุดและอัตราเงินเฟ้อในอัตรา 2% ในระยะยาว คณะกรรมการพิจารณาว่าความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อนั้นอยู่ในเกณฑ์สมดุล แนวโน้มเศรษฐกิจไม่แน่นอน และคณะกรรมการให้ความสำคัญกับความเสี่ยงทั้งสองด้านของภารกิจคู่ขนาน

เพื่อสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าว คณะกรรมการตัดสินใจลด Federal Funds Rate ลง 1 ใน 4 เปอร์เซ็นต์ เหลือกรอบเป้าหมาย 4.25% ถึง 4.5% โดยในการพิจารณาขอบเขตและระยะเวลาของการปรับเพิ่มเติมในช่วงเป้าหมายของ Federal Funds Rate คณะกรรมการจะประเมินข้อมูลที่เข้ามา แนวโน้มที่เปลี่ยนแปลง และความสมดุลของความเสี่ยงอย่างรอบคอบ นอกจากนี้ คณะกรรมการจะลดการถือครอง Treasury securities และ Agency debt และ Agency mortgage‑backed securities คณะกรรมการมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนการจ้างงานสูงสุดและผลักดันให้เงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย 2%

นอกจากนี้ ในสรุปการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจ (Summary of Economic Projections) คณะกรรมการ FOMC ได้เขียนการประเมินของตนเองเกี่ยวกับแนวทางที่เหมาะสมสำหรับ Federal Funds Rate ที่เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ โดยพิจารณาจากสิ่งที่คณะกรรมการแต่ละคนมองว่าเป็นสถานการณ์ที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดในอนาคต คณะกรรมการโดยเฉลี่ยคาดการณ์ว่า Federal Funds Rate ในระดับที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 3.9% (กรอบเป้าหมาย 3.75% ถึง 4%) ณ สิ้นปีหน้า และ 3.4% (กรอบเป้าหมาย 3.25% ถึง 3.5%) ณ สิ้นปี 2569

จะเห็นว่าการคาดการณ์โดยเฉลี่ยเหล่านี้สูงกว่าที่ได้เคยคาดการณ์ในเดือนกันยายนในการประชุม FOMC ครั้งที่ 6 ของปี 2567 เล็กน้อย ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์เหล่านี้ไม่ใช่แผนหรือการตัดสินใจของคณะกรรมการ

Federal Reserve issues FOMC statement

Federal Reserve issues FOMC statement ฉบับเต็มและคณะกรรมการที่ลงคะแนนให้ลดและคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากการแถลงข่าวของ Federal Reserve เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 เวลา 2:00 p.m. (EST)

Recent indicators suggest that economic activity has continued to expand at a solid pace. Since earlier in the year, labor market conditions have generally eased, and the unemployment rate has moved up but remains low. Inflation has made progress toward the Committee’s 2 percent objective but remains somewhat elevated.

The Committee seeks to achieve maximum employment and inflation at the rate of 2 percent over the longer run. The Committee judges that the risks to achieving its employment and inflation goals are roughly in balance. The economic outlook is uncertain, and the Committee is attentive to the risks to both sides of its dual mandate.

In support of its goals, the Committee decided to lower the target range for the federal funds rate by 1/4 percentage point to 4-1/4 to 4-1/2 percent. In considering the extent and timing of additional adjustments to the target range for the federal funds rate, the Committee will carefully assess incoming data, the evolving outlook, and the balance of risks. The Committee will continue reducing its holdings of Treasury securities and agency debt and agency mortgage‑backed securities. The Committee is strongly committed to supporting maximum employment and returning inflation to its 2 percent objective.

In assessing the appropriate stance of monetary policy, the Committee will continue to monitor the implications of incoming information for the economic outlook. The Committee would be prepared to adjust the stance of monetary policy as appropriate if risks emerge that could impede the attainment of the Committee’s goals. The Committee’s assessments will take into account a wide range of information, including readings on labor market conditions, inflation pressures and inflation expectations, and financial and international developments.

Voting for the monetary policy action were Jerome H. Powell, Chair; John C. Williams, Vice Chair; Thomas I. Barkin; Michael S. Barr; Raphael W. Bostic; Michelle W. Bowman; Lisa D. Cook; Mary C. Daly; Philip N. Jefferson; Adriana D. Kugler; and Christopher J. Waller.

Voting against the action was Beth M. Hammack, who preferred to maintain the target range for the federal funds rate at 4-1/2 to 4-3/4 percent.


ข้อมูลอ้างอิงจาก